แนวทางการดำเนินการเพื่อมีส่วนร่วมในการช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

063_Guidelines for action to contribute to climate change mitigation-01

          การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงองค์กรของท่าน URS ประเทศไทย รวบรวมแนวทางการดำเนินการเพื่อมีส่วนร่วมในการช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ดังนี้

  1. การใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม องค์กรของท่านสามารถลงทุนในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) หรือลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด เพื่อเสริมสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล เช่น เชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
  2. การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรท่านสามารถจัดการประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อลดของเสียจากกระบวนการ ลดการสร้างขยะ และมีส่วนช่วยในการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. การลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน การลดการปล่อยคาร์บอนไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในขั้นตอนการผลิตของบริษัทเท่านั้น แต่ยังควรพิจารณาห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด บริษัทสามารถทำงานร่วมกับผู้ขาย (Supplier/ External provider) ในการเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือร่วมพัฒนาวิธีการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งสินค้า
  4. การส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน องค์กรท่านสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อใช้วัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หรือวัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่ยั่งยืน และใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานเพื่อลดการสร้างขยะ
  5. การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืน องค์กรการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความยั่งยืนในองค์กรเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ท่านสามารถส่งเสริมพนักงานให้มีส่วนร่วมในการลดการใช้พลังงานในที่ทำงาน สนับสนุนการเดินทางด้วยยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซต่ำหรือการทำงานทางไกล (Remote Work) เพื่อลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นและส่งเสริมการลดการใช้พลังงานในสำนักงาน
  6. การมีส่วนร่วมในโครงการลดการปล่อยคาร์บอน องค์กรท่านสามารถเข้าร่วมในโครงการลดการปล่อยคาร์บอนในระดับท้องถิ่นหรือระดับนานาชาติ เช่น การรับรองมาตรฐาน ISO 14064-1 เวอร์ชั่น 2018 วัดปริมาณและรายงานการปล่อยและการกําจัด ก๊าซเรือนกระจก (GHG) การเข้าร่วมโครงการที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการสนับสนุนโครงการปลูกป่าหรือการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นต้น

          การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความรับผิดชอบที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม องค์กรต่าง ๆ สามารถที่จะมีบทบาทสำคัญผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน และการลงทุนในนวัตกรรมที่ยั่งยืน การกระทำเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และความไว้วางใจจากผู้บริโภคอีกด้วย

ISO 14064-1 เวอร์ชั่น 2018 Greenhouse gases (ก๊าซเรือนกระจก) เป็นมาตรฐานสากลที่จะเป็นหลักการและข้อกำหนดในระดับองค์กรสำหรับการรายงานการปล่อยและการกำจัดก๊าซเรือนกระจก (GHG) รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การรายงาน และการตรวจสอบขององค์กร

          URS ประเทศไทย เป็นหน่วยงานตรวจรับรองมาตรฐาน ISO 14064-1 เวอร์ชั่น 2018 เพื่อความน่าเชื่อถือ ของการออกรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรท่าน รวมถึงสร้างความสม่ำเสมอ ความโปร่งใส ระบบการเฝ้าระวัง รวมทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามโครงการของท่าน

โดยเรามีผู้ตรวจที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการตรวจรับรองทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของท่านได้รับใบรับรองและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

หากท่านต้องการทราบขั้นตอน การตรวจรับรองมาตรฐาน ISO และข้อมูลสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อกระบวนการตรวจรับรองตามขั้นตอน สามารถติดต่อเราได้ที่ช่องทาง ที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอได้เลย และเมื่อผ่านการตรวจรับรองแล้ว ท่านจะได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO  จาก URS ประเทศอังกฤษ