ISO 14064-1 กับเรื่อง Climate Change

ISO 14064-1 and Climate Change-01

ISO 14064-1 กับเรื่อง Climate Change

          การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกส่งผลต่ออุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช คนหรือสัตว์ ทั้งในรูปรูปแบบของการเกิดภาวะแห้งแล้ง พายุ น้ำท่วม ไฟป่า ฯลฯ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่เกิดสภาวะเรือนกระจกในโลกเรา โดย ที่มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดสภาวะเช่นนี้ก็คือการทำกิจกรรมต่างๆแล้วทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกมาสู่อากาศแล้วลอยขึ้นไปเป็นชั้นปกคลุมบรรยากาศ
ทั้งนี้ก๊าซเรือนกระจก ในปัจจุบันจะเฝ้าระวังอยู่ 7 กลุ่มหลัก ที่ IPCC WMO กำหนด คือ

  • CO2
  • CH4
  • N2O
  • HFCs
  • PFCs
  • SF6
  • NF3

          โดยที่เราไม่ควบคุมการปล่อยก๊าซเหล่านี้ก็คาดว่าอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียสภายใน 10 ปี ซึ่งจะยิ่งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้นความเข้มข้นของน้ำทะเลก็จะเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจจะนำมาสู่ปัญหาการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งกระทบกันเป็นห่วงโซ่ได้
ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการเรียกร้องให้ ทั่วทั้งโลกทั้งหนักถึงความรับผิดชอบในการที่จะต้องดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของแต่ละองค์กรและพยายามลดให้ได้มากที่สุดซึ่งความฝันอันสูงสุดก็คือการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกให้เท่ากับศูนย์ให้ได้เพื่อความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้
          องค์กร ISO ได้ออกมาตรฐานการจัดการ ISO 14064-1 (CFO) เรื่องการทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเพื่อจะได้รู้ว่าองค์กรของตน ณ ปัจจุบันมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อยู่เท่าไหร่และจะมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอนาคตได้อย่างไรและลดได้เท่าไหร่และจะเป็นศูนย์ได้เมื่อไหร่โดยอาจจะมีกิจกรรมในเรื่องของการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกเข้ามาในกิจกรรมขององค์กร

มาตรฐาน ISO 14064-1 :2018 นี้ ในแต่ละองค์กรที่สนใจจะปฏิบัติตามและขอการรับรองมาตรฐานฉบับนี้นั้นจะต้องศึกษากิจกรรมต่างๆของทางองค์กรว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในลักษณะทางตรง ทางอ้อม และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยมาตรฐานจะแบ่งออกเป็น 6 หมวดหลักๆดังนี้

  • หมวดที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง
    • การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นในองค์กรของตนไม่ว่าจะเป็นการใช้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหินน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แอลพีจี เหล่านี้ เป็นต้น
    • การเผาไม่ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับอุปกรณ์ขนส่ง เช่น ยานยนต์ เรือบรรทุก รถบรรทุก เครื่องบิน รถไฟ รถยก เป็นต้น
    • กระบวนการทำงานในองค์กรที่แม้ว่าจะไม่มีการเผาไหม้แต่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำงานยกตัวอย่าง เช่น การเกิดปฏิกิริยาเคมี ในระหว่างกระบวนการผลิต เป็นต้น
    • การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกในองค์กรเช่นรั่วจากข้อต่อท่อ หรือการหมักหมมทำปุ๋ย การบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
    • การเปลี่ยนแปลงการใช้สภาพพื้นดินซึ่งอาจจะเป็นลักษณะลักษณะของการปล่อยหรือดูดกัดก็ได้ยกตัวอย่างเช่นมีการถางป่าไปทำไร่หรือปลูกป่าเพิ่มเติมส่วนนี้ก็นำมารายงานด้วยเช่นเดียวกัน
  • หมวดที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม
    • เป็นเรื่องของการใช้พลังงานโดยมุ่งประเด็นไปในเรื่องของการใช้ไฟฟ้าหรือการซื้อไอน้ำจากหน่วยงานภายนอกไปใช้ในองค์กร
  • หมวดที่ 3 เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดมาจาก
    • การขนส่งวัตถุดิบมาสู่องค์กร
    • การขนส่งสินค้าขององค์กรไปยังผู้ซื้อ
    • การเดินทางของพนักงานไปกลับที่ทำงาน
    • การเดินทางของผู้มาเยือนหรือลูกค้า
    • การเดินทางเพื่อธุรกิจของเจ้าหน้าที่องค์กร
  • หมวดที่ 4
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการซื้อวัตถุดิบ
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการซื้อสินทรัพย์ เช่น เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการกำจัดของเสียที่เป็นของแข็งและของเหลว
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้สินทรัพย์
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้บริการ เช่น การส่งไปรษณีย์การทำความสะอาดการธนาคาร เป็นต้น
  • หมวดที่ 5
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ขององค์กรที่ขายออกไป
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดจากการให้เช่าสินทรัพย์ของทาง องค์กร
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อสิ้นสุดอายุของผลิตภัณฑ์
    • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลงทุนเช่นตราสารหนี้ การลงทุนในโครงการต่างๆ เป็นต้น
  • หมวดที่ 6
    • คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวมาใน 5 หมวดข้างต้น

          และเมื่อองค์กรสามารถแยกแยะกิจกรรมของตนว่าแต่ละกิจกรรมอยู่ในหมวดหมวดใดก็จะเริ่มคำนวณว่ากิจกรรมดังกล่าวนั้นมีปริมาณการใช้ทรัพยากรซึ่งทำให้ก่อเกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะต้องนำปริมาณที่ใช้มาคูณกับ Emission factor และ GWP100 เพื่อทำให้ก๊าซต่างๆอีก 6 ก๊าซ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปของข้าที่จะต้องรายงานเป็นค่าตัน CO2 equivalent ซึ่งเมื่อองค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลได้ 12 เดือนพอจะสามารถกำหนดให้เป็นค่าปีฐานที่จะเอาไว้ใช้เปรียบเทียบกับปีถัดถัดไปว่ากิจกรรมที่ทางองค์กรได้มีการพิจารณาปรับปรุงนั้นสามารถลดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เท่าไหร่เมื่อเทียบกับปีฐานที่เริ่มคำนวณไว้ทั้งนี้ถ้าปีฐานเราใช้มาตรฐานใดๆ ในการเก็บสถิติและคำนวณในปีถัดถัดไปต้องใช้วิธีเดียวกันในการเก็บข้อมูลเพื่อสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

รายละเอียดของวิธีการรายงาน วิธีการคำนวณ และการขอรับรองมาตรฐาน ท่านสามารถติดตามได้ในตอนต่อไป

          URS ประเทศไทย จึงขอนำเสนอมาตรฐานสากล ที่เกี่ยวข้องกับ ได้แก่ ISO14064-1:2018 เพื่อรับรองระบบบริหารจัดการระดับสากล โดยเรามีผู้ตรวจที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการตรวจและให้การรับรองทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของท่านได้รับใบรับรองและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
          หากท่านต้องการทราบขั้นตอน การตรวจรับรองมาตรฐาน ISO และข้อมูลสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อกระบวนการตรวจรับรองตามขั้นตอน สามารถติดต่อเราได้ที่ช่องทาง ที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอได้เลย และเมื่อผ่านการตรวจรับรองแล้ว ท่านจะได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO จาก URS ประเทศอังกฤษ